เอกภพ (Universe) หมายถึง กาแล็กซีหลาย ๆ กาแล็กซีมารวมกันอยู่เป็นระบบ และเป็นผลรวมของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในอวกาศทั้งหมด เอกภพมีระบบกาแล็กซีประมาณหนึ่งแสนล้านกาแล็ก ซัี แต่ละกาแล็กซีจะอยู่ห่างกันมาก บางกาแล็กซีอาจจะอยู่ไกลกันถึง 1 ล้านปีแสง
กำเนิดเอกภพ
ทฤษฎีกำเนิดเอกภพ ที่ได้รับความเชื่อถือมาก ในหมู่นักดาราศาสตร์ คือ ทฤษฎีระเบิดใหญ่ หรือ Big Bang เป็นการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ จากพลังงานบางอย่าง ที่ทำให้พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นสสาร มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ขณะเกิดบิกแบง มีสสารเกิดขึ้นในรูปของอนุภาคพื้นฐานชื่อ ควาร์ก (Quark) อิเล็กตรอน (Electron) นิวทริโน (Neutrino) และโฟตอน (Photon) ซึ่งเป็นพลังงานด้วย เมื่อเกิดอนุภาคก็จะเกิดปฏิอนุภาค ที่มีประจุไฟฟ้าตรงข้าม ยกเว้น นิวทริโนและแอนตินิวทริโน ไม่มีประจุไฟฟ้า
เมื่อปฏิอนุภาคพบกับอนุภาคชนิดเดียวกันจะหลอมรวมกันเนื้อสารเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจนหมดสิ้น ถ้าเอกภพมีจำนวนอนุภาคเทากับปฏิอนุภาคพอดี เมื่อพบกันจะกลายเป็นพลังงานทั้งหมด ก็จะไม่เกิดกาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ โชคดีที่ในธรรมชาติมีอนุภาคเหลืออยู่ และนี่คืออนุภาคที่ก่อกำเนิดเป็นสสารของเอกภพในปัจจุบัน
หลังบิกแบงเพียง 10-6 วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นสิบล้านล้านเคลวิน ทำให้ควารืกเกิดการรวมตัวกัน กลายเป็นโปรตอน (นิวเคลียสของไฮโดรเจน) วึ่งมีประจุไฟฟ้าบวก 1 หน่วยและนิวตรอน ซึ่งเป็นกลาง
หลังบิกแบง 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นร้อยล้านเคลวิน มีผลให้โปรตอนและนิวตรอนเกิดการรวมตัวเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม ในช่วงแรกๆนี้ เอกภพขยายตัวอย่างเร็วมาก
หลังบิกแบง 300,000 ปี อุณหภูมิลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและฮีเลียมดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ
กาแล็กซีต่างๆ เกิดหลังบิกแบง อย่างน้อย 1,000 ล้านปี ภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นสสารเบื้องต้นซึ่งก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ ส่วนธาตุต่างๆ ที่มีนิวเคลียสใหญ่กว่าคาร์บอนเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่
หลังบิกแบง 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นร้อยล้านเคลวิน มีผลให้โปรตอนและนิวตรอนเกิดการรวมตัวเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม ในช่วงแรกๆนี้ เอกภพขยายตัวอย่างเร็วมาก
หลังบิกแบง 300,000 ปี อุณหภูมิลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและฮีเลียมดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ
กาแล็กซีต่างๆ เกิดหลังบิกแบง อย่างน้อย 1,000 ล้านปี ภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นสสารเบื้องต้นซึ่งก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ ส่วนธาตุต่างๆ ที่มีนิวเคลียสใหญ่กว่าคาร์บอนเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่
กาแล็กซี่
กาแล็กซี (galaxy) เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ บริเวณของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต รวมทั้งแก๊สและฝุ่นธุลีในอวกาศกาแล็กซีเป็นส่วนหนึ่งของเอกภพ ซึ่งกำเนิดมาจากมวลของแก๊ส ภายใต้ความดันและแรงดึงดูดระหว่างกัน
กาแล็กซี่ทางช้างเผือก
กาแล็กซีทางช้างเผือก เป็นกาแล็กซีที่ระบบสุริยะสังกัดอยู่ ในคืน เดือนมืดถ้าเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า จะเห็นเป็นแทบสีขาวพาดอยู่ ชาวกรี กจินตนาการว่าเป็นเสมือนทางน้ำนม จึงเรียกว่า "The Milky way" สำหรับคนไทยจินตนาการว่าเป็นทางเดินของช้างเผือก จึงเรียกว่า "ทางช้าง เผือก"
บริเวณใจกลางของกาแล็กซีมีดาวฤกษ์ กระจุกดาว แก๊สและฝุ่นธุลีอยู่หนาแน่น ลักษณะของกาแล็กซีมีรูปร่างคล้ายจักรหรือไข่ ดาว ด้ามองด้านบนจะเห็นเป็นรูปทรงกลมหมุนรอบตัวเองแบบทวนเข็มนาฬิกา แต่ ถ้ามองด้านข้างจะเห็นคล้ายจานแบน
บริเวณใจกลางของกาแล็กซีมีดาวฤกษ์ กระจุกดาว แก๊สและฝุ่นธุลีอยู่หนาแน่น ลักษณะของกาแล็กซีมีรูปร่างคล้ายจักรหรือไข่ ดาว ด้ามองด้านบนจะเห็นเป็นรูปทรงกลมหมุนรอบตัวเองแบบทวนเข็มนาฬิกา แต่ ถ้ามองด้านข้างจะเห็นคล้ายจานแบน
องค์ประกอบของกาแล็กซี
กาแล็กซีประกอบด้วยดาวฤกษ์ กระจุกดาวสสารระหว่างดาว (แก๊สและ ฝุ่นธุลี) เนบิวลา และที่ว่างในอากาศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะของเลือกนำเสนอเพียงบางตัวอย่าง
1. กระจุกดาว คือกลุ่มดาวตั้งแต่สิบดวงไปจนถึงหลายสิบล้านดวง ในกาแล็กซี ทางช้างเผือกจะพบกระจุกดาวรอบ ๆ ศูนย์กลางกาแล็กซี เช่น กระจุกดาวลูกไก่้ ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะมองเห็นดาวฤกษ์ประมาณ 7 ดวง
2. สสารระหว่างดาว ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างไกลกันมาก ระหว่างดวง ดาวจึงมีสสารระหว่างดาว ซึ่งประกอบด้วยแก๊ส (ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน) ฝุ่นธุลีชิ้นส่วนของสะเก็ดดาวแทรกคั่นอยู่
3. เนบิวลา กลุ่มเมฆหมอกของแก๊สและฝุ่นธุลีของสสารในอากาศ ที่อยู่ระหว่างดวงดาวในกาแล็กซ๊ มี 3 ชนิด
- เนบิวลาสว่าง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีที่สะท้อนแสงสว่างที่ส่องมาจากดาวฤกษ์
- เนบิวลาเรืองแสง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีระหว่างดวงดาวที่เปล่ง แสงออกมาจากตัวเอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของอนุภาคโปรตรอนนิวตรอนเป็นอะตอม ไฮโดรเจน
- เนบิวลามืด เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีจำนวนมากและหนาทึบ ซึ่งดูดกลืนแสงของดาวฤกษ์ที่ส่องมา
1. กระจุกดาว คือกลุ่มดาวตั้งแต่สิบดวงไปจนถึงหลายสิบล้านดวง ในกาแล็กซี ทางช้างเผือกจะพบกระจุกดาวรอบ ๆ ศูนย์กลางกาแล็กซี เช่น กระจุกดาวลูกไก่้ ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะมองเห็นดาวฤกษ์ประมาณ 7 ดวง
2. สสารระหว่างดาว ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างไกลกันมาก ระหว่างดวง ดาวจึงมีสสารระหว่างดาว ซึ่งประกอบด้วยแก๊ส (ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน) ฝุ่นธุลีชิ้นส่วนของสะเก็ดดาวแทรกคั่นอยู่
3. เนบิวลา กลุ่มเมฆหมอกของแก๊สและฝุ่นธุลีของสสารในอากาศ ที่อยู่ระหว่างดวงดาวในกาแล็กซ๊ มี 3 ชนิด
- เนบิวลาสว่าง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีที่สะท้อนแสงสว่างที่ส่องมาจากดาวฤกษ์
- เนบิวลาเรืองแสง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีระหว่างดวงดาวที่เปล่ง แสงออกมาจากตัวเอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของอนุภาคโปรตรอนนิวตรอนเป็นอะตอม ไฮโดรเจน
- เนบิวลามืด เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีจำนวนมากและหนาทึบ ซึ่งดูดกลืนแสงของดาวฤกษ์ที่ส่องมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น